วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม :

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม



   หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จ.เชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

 วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ


ทหารรักษาพระองค์ 
 คือ หน่วยทหารที่มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์โดยใกล้ชิด เฉพาะกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เนื่องด้วยเป็นหน่วยที่ถวายการรับใช้ต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างใกล้ชิดที่สุด (คำว่า "ราชวัลลภ" นี้ แปลได้ว่า ผู้เป็นที่รัก สนิท คุ้นเคยของพระราชา)




จาก   Sukarun Rangabpan

อาคารต่างๆในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


เนื่องจากภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีอาคารสำคัญและอาคารประกอบเป็นจำนวนมาก จึงแบ่งกลุ่มอาคารออ  เป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งและความสำคัญ ดังนี้




กลุ่มพระอุโบสถ
   กลุ่มพระอุโบสถ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุด มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ล้อมรอบด้วยศาลาราย พระโพธิ์ธาตุพิมาน หอราชพงศานุสรณ์ หอราชกรมานุสรณ์ หอระฆัง และ หอพระคันธารราษฎร์

พระอุโบสถ
      พระอุโบสถ ตั้งอยู่ส่วนกลางของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีซุ้มประดิษฐานเสมารวม 8 ซุ้ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2326 เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (แก้วมรกต) ที่พระองค์ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2322 (พบพระแก้วมรกต ครั้งแรกที่เจดีย์ ณ วัดพระแก้ว อ.เมือง จังหวัดเชียงราย)
หลักฐานการก่อสร้างและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถในรัชสมัยนี้ไม่ชัดเจนนัก นอกจากบ่งไว้ว่า ฝาผนังรอบ      นอกเป็นลายรดน้ำปิดทองรูปกระหนกเครือแย่งทรงข้าวบิณฑ์ดอกในบนพื้นสีชาด ฝาผนังด้านในเหนือประตูด้านสกัดเป็นภาพเรื่องมารวิชัยและเรื่องไตรภูมิ

ส่วนฝาผนังด้านยาวเขียนภาพเทพชุมนุมตามแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ฝาผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเรื่องปฐมสมโพธิ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบซึ่งปรากฏว่ามีการแก้ไขในรัชกาลที่ 3 และ 4 ในภายหลังดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน

พระทวารกลาง เป็นพระทวารใหญ่สูง 8 ศอกคืบ กว้าง 4 ศอกคืบ ตัวบานเป็นบานประดับมุกลายช่องกลม ส่วนพระทวารข้างเป็นทวารรองสูง 7 ศอก กว้าง 3 ศอก 1 คืบ 10 นิ้ว ตัวบานเป็นบานประดับมุกกลายเต็ม ซึ่งบานพระทวารทั้ง 2 แห่งนี้ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานความเห็นว่า "เป็นฝีมือที่น่าชมยิ่ง ตั้งใจทำแข่งกับบานที่ทำครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งอยู่ที่วิหารยอด"

ภายในพระอุโบสถได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามตั้งแต่เพดานถึงพื้น กลางห้องประดิษฐานพระแก้วมรกตในบุษบกทองคำพร้อมด้วยพระพุทธรูปสำคัญมากมาย


วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ท่องโลกกว้าง : VDO



ส่งเมื่อ 13 ก.พ. 60 เวลา 21:20 น.  
จาก   Patrizio Fiorentino


ส่งเมื่อ 7 มี.ค. 60
จาก VODKAMASTER

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ไป (ความกลัว)




ความกลัว
 เป็นอารมณ์ที่เกิดจากการรับรู้ภัยคุกคามของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมองและการทำงานของอวัยวะ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด เช่น การวิ่งหนี การหลบซ่อน หรือการช็อคจากเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจ ความกลัวอาจเป็นการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือในอนาคต ซึ่งรับรู้ว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิต สถานภาพ อำนาจ ความปลอดภัย หรือความมั่งคั่ง หรือสิ่งมีค่าใด ๆ การตอบสนองความกลัวเกิดขึ้นได้จากการรับรู้อันตรายที่นำไปสู่การเผชิญหน้าหรือการหลบหนีจากภัยคุกคาม ซึ่งในกรณีความกลัวสุดโต่ง อาจทำให้ช็อคหรือชาได้
ในมนุษย์และสัตว์ ความกลัวเกิดขึ้นจากกระบวนการประชานและเรียนรู้ ดังนั้นความกลัวจึงสามารถประเมินได้ว่ามีเหตุผลหรือเหมาะสม และไม่มีเหตุผลหรือไม่เหมาะสม ความกลัวที่ไม่มีเหตุผลเรียกว่า โรคกลัว (phobia)
นักจิตวิทยาหลายคน เช่น จอห์น บี. วัตสัน โรเบิร์ต พลุตชิก และพอล เอ็กแมน แนะว่ามีอารมณ์พื้นฐานหรืออารมณ์ที่มีตั้งแต่เกิดอยู่จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือความกลัว กลุ่มความรู้สึกที่เป็นสมมุติฐานนี้รวมถึงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความสุข ความเศร้า ความสยองขวัญ ความตื่นตระหนก ความกังวล ปฏิกิริยาเฉียบพลันต่อความเครียด และความโกรธ
ความกลัวมีความหมายใกล้เคียงกับ "ความกังวล" แต่แตกต่างกัน โดยความกังวลเกิดขึ้นเป็นผลจากภัยคุกคามที่รับรู้ว่าควบคุมไม่ได้หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้[1]
การตอบสนองความกลัวเป็นการเอาตัวรอดโดยสร้างการตอบสนองพฤติกรรมที่เหมาะสม คงสภาพเช่นนี้ด้วยวิวัฒนาการ

โรคกลัวอาการกลัว หรือ โฟเบีย (อังกฤษphobiaกรีกφόβος "กลัว")
  เป็นความกลัวชนิดที่ไม่ปกติ มักจะเกิดกับความกลัวสิ่งของ บุคคล การกระทำ หรือเหตุการณ์ต่างๆ การกลัวมีความรุนแรงทางอารมณ์ เป็นพฤติกรรมเชิงอารมณ์ที่รุนแรงที่จะปฏิเสธต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ภายนอกที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง
โฟเบียนี้จะแตกต่างกับความกลัว (Fear) ที่ไม่มีการแสดงอารมณ์ที่รุนแรง อย่างการร้องไห้ฟูมฟายหรืออาเจียน และแตกต่างกับความวิตกกังวล เพราะกรณีของโฟเบียเรารู้ว่าตัวเรากลัวอะไร แต่เราไม่รู้ว่าเราเป็นกังวลในเรื่องอะไร


ทฤษฎีความกลัว

"ทฤษฎีเรื่องความกลัวยังคงใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ และกับทุกคน
คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่า คนอย่างเราเรา ไม่เคยกลัวอะไร"
ความคิดนี้ยังคงดังขึ้นในส่วนของสมองชั้นในสุดและมันอาจจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางหากมีการพิสูจน์ถึงสมมติฐานข้อนี้อย่างจริงจัง
สิ่งหนึ่งที่ยังคงยืนยันได้คือว่าความกลัฎีควาว มักจะคืบคลานเข้ามายามที่คนเราไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวอีกทีก็ปรากฎว่าเกิดความกลัวเสียแล้ว 
แต่น่าเสียดายที่ถึงแม้คนเรารู้สึกตัวว่ากำลังกลัว ก็ไม่อาจหนีพ้นสภาวะนั้นไปได้ 
ถ้ามีการจัดอันดับความรู้สึก ความกลัวอาจจะเป็นอันดับหนึ่งของสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ที่คนเราไม่อยากรู้สึก แต่ไม่มีใครหนีมันไปได้ และไม่มีทางหนึพ้น
น่าแปลกที่บางทีคนเรา อย่างที่เห็นกันเดินอยู่ทุกวันบนถนน สิ่งที่กลัวและเป็นความกลัวก็คือความจริง
 ความจริงคือสิ่งที่เป็นสัจธรรม และเป็นสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นจริง อาจจะเกิดขึ้น สามารถจะเกิดขึ้น คงจะเกิดขึ้น และเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
 ความจริงกับความกลัวอาจจะเดินคู่กันบนเส้นขนานที่ไม่มีทางบรรจบกันได้และโชคร้ายที่มันก็อาจมักจะมาพร้อมกันเสมอ
 คนบางคนกลัวความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ....
กลัวว่าจะรับมือกับมันอย่างไร หากความจริงในอดีตตามมาทำร้ายในความคิดทุก ๆ วัน
 คนบางคนกลัวความจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่นาที
กลัวว่าสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะไม่อยู่ในความควบคุมของมือคนอย่างเรา
 คนบางคนกลัวความจริงที่ยังไม่เกิดในอนาคต ...
กลัวแม้ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ก็พร้อมที่จะกลัวและจมอยู่กับความกลัวตลอดเวลา
  " สิ่งหนึ่งที่ยังคงรับมือกับมันได้ ก็คงมีแต่ภูมิต้านทานตัวเอง ที่คงต้องเร่งสร้างขึ้นมาทุก  ๆ วัน เพื่อต่อสู้กับความรู้สึกภายในของตัวเอง และภูมิต้านทานที่สร้างก็ยังจะพอช่วยให้เรามีแรงหายใจได้แบบวันต่อวัน "


ชีววิทยา (กายวิภาคศาสตร์ : กระดูก 1-3)




               

จาก Prasit Kongsup 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระดูก